ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก


ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก
คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก การสร้างคอมพิวเตอร์กราฟิกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติ (Specification) สำหรับงานด้านนี้โดยเฉพาะ  เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่มีคุณภาพ  ซึ่งควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้ 1.  หน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ต้องมีประสิทธิภาพและความเร็วสูง  เนื่องจากในการประมวลผลกราฟิกนั้นจะต้องอาศัยการคำนวณต่างๆ มากมาย  หากหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วต่ำ  จะทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า 2.  หน่วยความจำหลักมีขนาดใหญ่  สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก  เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำหลักนี้ได้แก่  RAM  นั่นเองส่วนขนาดความจุของ  Harddisk  นั้น  หากมีขนาดใหญ่ก็สามารถช่วยเป็นหน่วยความจำหลัก  จำลองได้ (Virtual Memory) 3.  การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงความละเอียดของภาพได้ดี  และหากการ์ดแสดงผลมีหน่วยความจำเป็นของตัวเองด้วย  จะช่วยให้การแสดงผลภาพกราฟิกบนจอคอมพิวเตอร์กระทำได้เร็วขึ้น  และหากต้องใช้กับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกแบบ  3  มิติ  หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนี้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างมาก 4.  จอคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูงและสอดคล้องกับการ์ดแสดงผล  จอคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงสีสันได้อย่างชัดเจน  และควรปรับความกว้างและความสูงของภาพที่แสดงให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง  เช่น  รูปวงกลมจะต้องมองดูกลม  ไม่ควรมองดูเป็นรูปวงรี  เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบกราฟิกในคอมพิวเตอร์ ระบบกราฟิกในคอมพิวเตอร์  มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายๆ  อย่างด้วยกัน  แต่องค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญมี  ดังนี้อุปกรณ์รับข้อมูลซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กราฟิกอุปกรณ์แสดงผลนอกเหนือจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ  อีก  เช่น  CPU  หรือหน่วยประมวลผลบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กราฟิก  สื่ออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บ  เป็นต้น  แต่องค์ประกอบดังกล่าวนี้ไม่ใช่องค์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อม  ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รองรับจินตนาการของผู้สร้าง  ถ่ายทอดลงสู่คอมพิวเตอร์หรือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างข้อมูลกราฟิกที่เป็นต้นฉบับขึ้นมา  เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ  หรือสำหรับใช้เป็นภาพวัตถุดิบเพื่อจะนำมาตกแต่งและนำไปใช้งานต่อไป  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับรับข้อมูลกราฟิกเข้าสู่คอมพิวเตอร์มีด้วยกันหลายอย่าง  ยกตัวอย่างเช่น 1.  เมาส์  (Mouse)  เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์  หากคอมพิวเตอร์เครื่องใดไม่มีเมาส์  การป้อนข้อมูลอาจต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นทดแทน  เช่น  แป้นพิมพ์  (ใช้งานทดแทนได้ยาก), แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad ใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก), แทร็คบอล ( Track Ball ใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก)  เป็นต้น  เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์กราฟิกได้ง่าย  แต่หากเป็นการวาดลายเส้นด้วยเมาส์จะทำได้ยากมากและไม่ได้ลายเส้นโค้งเว้าตามที่ต้องการ  ในกรณีนี้จึงต้องใช้อุปกรณ์อื่นทดแทน 2.  ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการวาดลายเส้นหรือขีดเขียนมีลักษณะเหมือนปากกา  วิธีการใช้งานมี 2 แบบ แบบแรกคือ  จะต้องวาดลงบนแผ่นรองพิเศษที่เรียกว่า  แท็บเล็ต (Tablet) แล้วภาพจะไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับวาดภาพด้วยปากกาธรรมาดาลงบนกระดาษ  และแบบที่สอง  คือสามารถใช้ปากกาแสงวาดลงบนจอภาพคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง  ปากกาแสงนิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD  Computer  Aided  Design)  และใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก  เช่น  ปาล์ม  เป็นต้น 3.  สแกนเนอร์ (Scanner)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงภาพหรือสิ่งพิมพ์ทั่วไปให้กลายเป็นภาพในคอมพิวเตอร์  โดยการสแกนคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร  สแกนเนอร์มีสองแบบคือ  แบบตั้งโต๊ะซึ่งนิยมใช้กันมากที่สุด  และแบบใช้มือถือซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้กันเนื่องจากต้องใช้มือเลื่อนสแกนภาพเอง  ทำให้โอกาสที่ภาพจะคลาดเคลื่อนสูง  ต้องใช้ความชำนาญจึงจะได้ภาพที่มีคุณภาพ 4.  กล้องดิจิตอล (Digital Camera)  เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพ  มีลักษณะเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไป  แต่เมื่อถ่ายภาพแล้วสามารถถ่ายทอดข้อมูลลงสู่คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้ทันที  ข้อมูลที่จัดเก็บในกล้องดิจิตอลไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์ม  ในการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก  กล้องดิจิตอลจะเป็นอุปกรณ์สร้างภาพวัตถุดิบที่ง่ายและเร็ว  มีความคมชัดมากกว่าภาพจากสแกนเนอร์  เนื่องจากสแกนเนอร์จำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายที่นำไปล้างและอัดก่อน  จากนั้นจึงนำภาพถ่ายมาสแกนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งความคมชัดและคุณภาพของภาพจะลดหายไปตามขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้น
ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์กราฟิก  ซอฟต์แวร์เหล่านี้จะเป็นผู้สร้างและเนรมิตงานกราฟิกตามที่ผู้สร้างต้องการโดยอาศัยข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทต่างๆ ปัจจุบันมีซอฟแวร์คอมพิวเตอร์กราฟิกให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก  ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป  
โปรแกรม Paint โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมกราฟิกที่ง่ายที่สุด  และถูกติดตั้งแถมมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์รุ่น 3.11 จะใช้ชื่อว่า  Paint Brush  ส่วนวินโดวส์รุ่นต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็น  Paint  หากโปรแกรมนี้ถูกลบทิ้งไป  สามารถติดตั้งกลับคืนมาได้ง่ายเพียงแค่คัดลอกไฟล์  PAINT.EXE  ลงสู่ฮาร์ดดิสก์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว  เพราะโปรแกรมนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อไฟล์ระบบ (System  File) จึงไม่ต้องใช้การติดตั้งใดๆ ให้ยุ่งยาก Paint  Brush  เหมาะสำหรับใช้ฝึกหัดกราฟิกเบื้องต้น  เป็นต้นตำรับของการสร้างไฟล์ภาพฟอร์แมต PCX  โปรแกรมมีขนาดเล็ก  ฝึกหัดใช้งานง่าย  มีความสามารถในการจัดการกราฟิกขั้นพื้นฐานทั่วๆ ไป จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมใช้งานง่าย  เหมาะสำหรับฝึกหัดกราฟิกเบื้องต้นแถมมาพร้อมกับ Microsoft  Windows  ไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเมื่อโปรแกรมเสียหาย  สามารถกู้คืนได้ง่ายไม่มีฟังก์ชันพิเศษ  จึงทำงานได้เร็ว
โปรแกรม  Adobe  Photoshop ด้วยความสามารถของโปรแกรม Adobe  Photoshop  จึงทำให้เราสามารถก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพได้โดยไม่ยาก  ประสิทธิภาพและชื่อเสียงของโปรแกรมนี้เป็นที่รู้จักกันดีจึงเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูง  เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก Adobe  Photoshop  เป็นโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับการตกแต่งภาพ  ซึ่งโปรแกรมนี้จะใช้กับภาพกราฟิกประเภทบิตแมพ  ภายในตัวโปรแกรมสามารถสร้างภาพบิตแมพแบบต่างๆ ได้อย่างครบวงจร  ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ครบทุกด้าน  แล้วแต่ว่าผู้สร้างจพประยุกต์ใช้เครื่องมือที่โปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ให้เหล่านั้น  มาผสมผสานเพื่อสร้างผลงานออกมาอย่างไร สำหรับประเทศไทย  โปรแกรม Adobe  Photoshop ก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน  จัดเป็นโปรแกรมที่หัดใช้ได้ง่าย  เปรียบเสมือนเป็นโปรแกรมพื้นฐานอีกโปรแกรมหนึ่งนอกเหนือจาก Microsoft  Office  อีกทั้งยังมีตำราภาษาไทยเป็นคู่มือการใช้โปรแกรมนี้จำนวนมาก  เราสามารถเลือกอ่านและหาซื้อกันได้อย่างหลากหลายตามร้านขายหนังสือคอมพิวเตอร์ทั่วไป จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับรูปภาพแบบบิตแมพได้อย่างสมบูรณ์ประสิทธิภาพสูงใช้งานง่ายสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับรูปภาพได้เกือบทุกงานสามารถสร้างภาพวัตถุดิบสำหรับงานบนอินเตอร์เน็ตมีการทำงานด้วยระบบเลเยอร์  ทำให้สามารถตกแต่งและแก้ไขภาพได้ง่ายทุกการกระทำที่เราทำต่อภาพ  สามารถยกเลิก (Undo) ได้ตามต้องการมี  Action เพื่อบันทึกขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำๆ  กันเก็บไว้  เพื่อให้โปรแกรมจัดการทำงานให้เองมีลูกเล่นและสเปเชี่ยลเอฟเฟ็กต์ให้เลือกใช้มากมายมีผู้ผลิตโปรแกรมสนับสนุนเพิ่มเติม (Plug –In) จำนวนมากสามารถรับภาพจากกล้องดิจิตอลและสแกนเนอร์ได้โดยตรงหากตำราอ่านประกอบง่าย
โปรแกรม Adobe  Image  Ready Image  Ready  เป็นโปรแกรมที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกับ Adobe  Photoshop  มาก เปรียบเสมือนเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้  ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการจัดวางเครื่องมือ (Tool)  เมนูบาร์  หน้าต่างของพาเลตต์สี  เลเยอร์  ฯลฯ จะคล้ายคลึงกันและใกล้เคียงกันมาก  ดังนั้น  หากสามารถใช้งานโปรแกรม Photoshop ได้  ก็จะสามารถใช้งานโปรแกรม Image  Ready  ได้เช่นกัน Image  Ready   เหมาะสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวของฟอร์แมต GIF เป็นโปรแกรมที่แถมมาควบคู่กับโปรแกรม Photoshop  โดย Image  Ready   จะรองรับภาพนิ่งจาก Photoshop นำมาทำเป็นภาพเคลื่อนไหว  ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพของโปรแกรมนี้จะด้อยกว่า Photoshop  เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับงานด้านตกแต่งรูปภาพโดยตรง  นอกจากทำภาพเคลื่อนไหวแล้วจุดเด่นหลักของ Image  Ready  ก็คือ  การผลิตภาพเพื่อเหมาะสำหรับการใช้งานและการแสดงผลบนอินเตอร์เน็ต จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถสร้างภาพ GIF  แบบเคลื่อนไหวได้แบ่งภาพ (Slice) ขนาดใหญ่ให้เป็นภาพเล็กๆ  เพื่อเหมาะกับการแสดงผลบนอินเตอร์เน็ตได้สร้างภาพแบบ Rollover  ได้แสดงผลลัพธ์ของภาพเมื่ออยู่ในบราวเซอร์  เป็นตัวอย่างให้ดูก่อนได้  (Preview) พร้อมทั้งสร้าง  Code ของ HTML ให้โดยอัตโนมัติ  ซึ่งสามารถคัดลอก Code  นี้ไปใช้งานได้ทันทีสลับการทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ  ได้  เช่น  Adobe Photoshop (สำหรับตกแต่งภาพ)  , Note  Pad  (สำหรับเขียน  Code  HTML ) โดยทั้งภาพและ  Code  จะ  Update ให้โดยอัตโนมัติ
โปรแกรม Adobe  lllustrator โปรแกรม Adobe  lllustrator  เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการวาดภาพแบบเวคเตอร์  ในขณะที่โปรแกรม Adobe  Photoshop เหมาะสำหรับการตกแต่งรูปภาพแบบบิตแมพ  โปรแกรม lllustrator  ถูกออกแบบให้มีลักษณะใช้งานง่ายในการวาดลายเส้น  จึงสามารถตอบสนองต่อความคิดและจินตนาการของผู้สร้างได้เป็นอย่างดี  ทำให้การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์มีความง่ายที่ใกล้เคียงกับการวาดด้วยมือบนกระดาษ  ภายในโปรแกรม lllustrator  มีเอฟเฟ็กต์สำเร็จรูปให้เลือกใช้หลายรูปแบบ  อันจะช่วยให้ภาพมีสีสันสะดุดตาได้ด้วยเวลาอันสั้น  โปรแกรมนี้สามารถเปิดไฟล์ภาพ  WMF  หรือภาพ Clip Art ของ MicroSoft Office ที่เรารู้จักกันดี  ขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขได้ ด้วยประสิทธิภาพของ lllustrator  จึงทำให้โปรแกรมนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในผู้ที่ชื่นชอบการสร้างกราฟิกคอมพิวเตอร์  นอกจากนั้นโปรแกรมนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ของบริษัท Adobe  ได้ดี  และสามารถทำงานได้ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์พีซีและคอมพิวเตอร์แมคอินทอช จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์สามารถแก้ไขภาพ Clip Art  ของ  Microsoft  Office  ได้มีเทคนิคเพื่อเอื้ออำนวยให้วาดและแก้ไขเส้นได้ง่ายและสมบูรณ์แบบสามารถแบ่งภาพเป็นภาพเล็กๆ (Slice) เพื่อใช้สำหรับการแสดงผลบน  Web page  ของอินเตอร์เน็ตภาพที่ได้มีคุณภาพสูงในขณะไฟล์มีขนาดเล็กมี Image  Map  เพื่อสร้างการเชื่อมโยงจากภาพไปยัง URL อื่นได้สนับสนุนการสร้างภาพสำหรับใช้งานบนอินเตอร์เน็ต

โปรแกรม Macromedia Firework Macromedia Firework เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการสร้างคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ  จุดเด่นของโปรแกรมจะเน้นไปทางการสร้างกราฟิกสำหรับเว็บไซด์  โดยเฉพาะเว็บไซด์ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้แบบทันที  (Interactive)  ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับ  Adobe Photoshop   Macromedia Firework  เป็นโปรแกรมสำหรับการสร้างกราฟิกประเภทบิตแมพ  ภายในโปรแกรมจะมีปุ่มเครื่องมือครบถ้วนเหมาะแก่ผู้สร้างมืออาชีพ  โปรแกรมสามารถติดตั้งได้เร็วและง่ายต่อการ Update  อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ  ในบริษัทเดียวกันได้ดี  เช่น Macromedia Flash , Macromedia Dreamweaver , Macromedia Freehand  เป็นต้น โปรแกรมนี้จัดเป็นโปรแกรมที่น่าใช้และมีผู้นิยมใช้งานจำนวนมากโปรแกรมหนึ่งประสิทธิภาพของโปรแกรมจะใกล้เคียงกับ  Adobe Photoshop แต่อาจจะด้อยกว่าในด้านของการตกแต่งภาพ  แต่จะเด่นกว่าในด้านของการสร้างภาพเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ต จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสนับสนุนการสร้างกราฟิกบนเว็บไซต์ได้ดีสามารถสร้างตัวอักษรที่คมชัดทำงานร่วมกับ Macromedia Dreamweaver  ในการสร้าง Java Script ให้กับภาพได้รวม ภาพ , ข้อความบน Rollovers และ Pop-Up Menu เป็นไฟล์ใหม่โดยอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับ Macromedia Flash เพื่อสร้างคำสั่งบนภาพได้
โปรแกรม Macromedia  Freehand Macromedia  Freehand  เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างรูปภาพแบบเวคเตอร์สามารถสร้างภาพเพื่อใช้งานควบคู่กับ Macromedia Flash และ Macromedia Firework ได้ดี เหมาะสมสำหรับการสร้างภาพสิ่งพิมพ์, Story Board , แก้ไขภาพลายเส้น, ภาพสำหรับอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น โปรแกรมนี้มีความสามารถในการสร้างเส้นและวัตถุต่างๆ  ในจำนวนไม่จำกัด  มีเทคนิคการสร้างที่เอื้ออำนวยให้ง่ายต่อการใช้งาน  ด้วยเทคนิค  Drag & Drop จึงช่วยลดขั้นตอนการทำงานด้วยเมนูคำสั่ง  สามารถสร้างภาพ  3 มิติ สร้างไฟล์ภาพยนตร์แบบ SWF  และอีกมากมาย จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถสร้างภาพแบบเวคเตอร์ได้ดีสร้างไฟล์ภาพยนต์ฟอร์แมต  SWF ได้ทำงานควบคู่กับ Macromedia Firework  และ Macromedia Flash ได้ใช้เทคนิค Drag &  Drop  เพื่อลดขั้นตอนการทำงานด้วยเมนูคำสั่งสามารถคัดลอกวัตถุได้ทีละหลายๆ ชิ้นหรือหลายๆ Layer ในคลิกเดียวโปรแกรม Macromedia Flash ในการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหวคงไม่มีโปรแกรมใดที่มีชื่อเสียงเท่ากับ Macromedia Flash  เราจะพบเห็นการใช้ภาพเคลื่อนไหวของ Flash  บ่อยครั้งในอินเตอร์เน็ต  ทั้งแบบภาพเคลื่อนไหวระยะสั้นๆ  หรือแบบภาพยนตร์ดำเนินเป็นเรื่องราว  ด้วยการออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสำหรับการทำภาพยนต์  โปรแกรม Flash  จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว  อีกทั้งมีเครื่องมือช่วยเหลือให้สร้างกราฟิกได้ง่าย  และยังสามารถนำภาพจากโปรแกรมอื่น  มาเรียงต่อกันเพื่อนำมาทำภาพเคลื่อนไหวได้อีกด้วย Macromedia Flash จะมองงานแบบ Time Line ซึ่งจะทำให้รู้ว่า  ณ. ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะมีวัตถุใดปรากฏตัวบ้าง  ทำให้สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ง่ายกว่าการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF  ซึ่งอาศัยภาพแต่ละเฟรมมาต่อกัน  โปรแกรมนี้สามารถเอฟเฟ็กต์การปรากฏตัวของแต่ละวัตถุได้อย่างเนียนตา  ต่อเนื่อง  สวยงาม  ไม่กระตุก  และนี่ก็คงเป็นเสน่ห์และจุดเด่นอีกจุดหนึ่ง  ซึ่งส่งผลให้โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นอกจากความนิยมในการทำภาพเคลื่อนไหวแล้ว Macromedia Flash ยังสามารถรองรับการเขียน  Script ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้สร้างเป็นเกมได้ด้วย  ดังที่เห็นกันอยู่ทั่วไปในเว็บไซต์ต่างๆ แต่ต้องอาศัยความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมจึงจะสามารถใช้งานได้ จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้สวยงาม  ต่อเนื่อง  เนียนตาเขียน Script  เพื่อสร้างเกมได้สร้างภาพยนตร์ได้สามารถสร้างไฟล์ที่รันด้วยตัวเองหรือรันบนบราวเซอร์ได้ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวของ Macromedia Flash สามารถแปลงเป็นไฟล์  GIF  แบบเคลื่อนไหวได้ภาพกราฟิกคมชัดเนื่องจากเป็นภาพแบบเวคเตอร์เนื่องจากไฟล์เป็นแบบเวคเตอร์  จึงทำให้ Download ได้เร็วกว่าภาพแบบบิตแมพสร้างการโต้ตอบ (Interactive) กับผู้ใช้ได้รวมกับโปรแกรมอื่นๆ ที่รันบนเซิร์ฟเวอร์ได้โดยอาศัย  Code ของ XML ขณะรันภาพเคลื่อนไหวสามารถย่อหรือขยายภาพได้โดยที่ภาพยังคงความคมชัด
โปรแกรม Paint  Shop  Pro Paint  Shop  Pro เป็นโปรแกรมตกแต่งกราฟิกของค่าย  JASC  เป็นโปรแกรมที่มีลูกเล่นน่าสนใจ  มีความสามารถทั้งสร้างสื่องานพิมพ์ทั่วไปและสำหรับเว็บเพจ  ทั้งยังมีขั้นตอนการทำงานน้อย  ใช้งานง่าย Paint  Shop  Pro  เป็นโปรแกรมที่น่าใช้อีกโปรแกรมหนึ่ง  สามารถสร้างภาพได้ทั้งแบบบิตแมพและแบบเวคเตอร์  ภายในโปรแกรมมีการรวบรวมจุดเด่นต่างๆ  ของโปรแกรมอื่นมาไว้ในตัวเอง  เช่น  มี  Browse  ดูไฟล์ภาพ  ทำให้ไม่ต้องอาศัยโปรแกรม  ACDsee , สามารถสร้างภาพฟอร์แมต GIF  แบบเคลื่อนไหวได้  โดยไม่ต้องอาศัย  Image Ready  เหมือน Photoshop  สามารถสร้างกราฟิกแบบเวคเตอร์ได้โดยไม่ต้องอาศัย lllustrator  หรือ  Freehand  เป็นต้น จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถสร้างกราฟิกทั้งแบบบิตแมพและเวคเตอร์มี  Browse  ดูไฟล์ภาพในตัวเอง  ทำให้ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมอื่นมีเอฟเฟ็กต์ที่หลากหลายสามารถสร้างภาพ GIF  แบบเคลื่อนไหวได้มีการรวบรวมจุดเด่นของโปรแกรมหลายๆ ตัวไว้ด้วยกัน
โปรแกรม Corel  Draw Corel  Draw  เป็นโปรแกรมของค่าย Corel  โปรแกรมนี้โด่งดังมาก่อนหน้าโปรแกรม Adobe Photoshop  ซึ่งกว่า 15  ปี  แล้วที่โปรแกรมนี้ได้รับความนิยม  ด้วยความสามารถในการสร้างภาพที่หลากหลายภายในโปรแกรมเดียว Corel  Draw  เหมาะสมสำหรับสร้างภาพแบบเวคเตอร์  และถ้าต้องการสร้างภาพแบบบิตแมพก็สามารถใช้โปรแกรม Photo  Paint  ซึ่งบรรจุอยู่ในชุดโปรแกรมเดียวกัน  นอกจากนั้น  ปัจจุบันยังบรรจุความสามารถในการสร้างภาพสำหรับเว็บเพจเพิ่มเติมเข้าไป กลุ่มของโปรแกรมในสายผลิตภัณฑ์ของ  Corel Draw ยังมีอีก 2  โปรแกรม  คือ  Corel  Draw  Graphics Suite  และ  Corel  Draw  Essentials จุดเด่นและตัวอย่างความสามารถของโปรแกรมสามารถสร้างภาพแบบเวคเตอร์และบิตแมพเหมาะสำหรับการสร้างและออกแบบภาพสำหรับงานพิมพ์และสำหรับเว็บเพจออกแบบสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายในการใช้งานได้ดีสร้างและแก้ไขเส้นได้ง่ายด้วยเครื่องมือที่มีความไวในการตอบสนองและยังเชื่อมต่อกับการสร้างเส้นด้วยแผ่นรองสัมผัส (Tablet)  แบบสมบูรณ์ออกแบบให้สามารถสร้างภาพได้โดยขั้นตอนเพียงไม่กี่คลิกสามารถสร้างบรรทัดของตัวอักษรให้โค้งเว้าตามรูปร่างที่ต้องการได้
อุปกรณ์แสดงผล อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่สำหรับแสดงกราฟิกสู่สายตาของมนุษย์  อุปกรณ์แสดงผลคอมพิวเตอร์กราฟิกมีด้วยกันหลายชนิด  เช่น  จอภาพ  เครื่องพิมพ์  พล็อตเตอร์  โปรเจคเตอร์ เป็นต้นแต่ที่นิยมใช้ในการแสดงผลกราฟิกกันมากที่สุดก็คือ  จอภาพและเครื่องพิมพ์ 1.  จอภาพ         สามารถตอบสนองและแสดงผลลัพธ์ให้ปรากฏได้ทันทีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีจอภาพ  รูปร่างของจอภาพคอมพิวเตอร์จะคล้ายกับจอโทรทัศน์  จอภาพประกอบไปด้วยจุดภาพเล็กๆ  เรียงต่อกันไปเป็นตาราง  เรียกว่า  พิกเซล  (Pixel ) ความละเอียดของจอภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนพิกเซล  จอภาพในปัจจุบันมี  2  ชนิด คือ จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray  Tube) เป็นจอภาพของคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีหลักการยิงแสงด้วยปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์  ปืนอิเล็กตรอนจะมีด้วยกัน 3  กระบอกสี  คือ  สีแดง  สีเขียว  และสีน้ำเงิน  เมื่อยิงลำแสงทั้งสามผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ จะปรากฏเห็นเป็นภาพสีเรืองแสงบนจอภาพ แสงที่เกิดขึ้นบนจอภาพนี้จะคงอยู่ในช่วงระยะเสี้ยววินาทีและจะดับหายไป  ดังนั้น  จึงต้องมีการกลับมายิงซ้ำใหม่อีกครั้งเพื่อให้เกิดเป็นภาพอย่างต่อเนื่อง  ไม่กะพริบหรือขาดหายไป  เวลาที่ใช้ในการยิงลำแสงให้ครบหนึ่งจอภาพเรียกว่า  เวลาเฟรม (Frame Time) ส่วนจำนวนรอบที่มีการยิงลำแสงในช่วงเวลา 1 วินาที เรียกว่า  อัตรารีเฟรช (Refresh  Rate)  ซึ่งในหนึ่งวินาทีจอภาพสามารถแสดงภาพได้อย่างต่ำ 30  วินาที  จึงทำให้ตาของมนุษย์มองเห็นภาพได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดหายไป จอแอลซีดี (Liquid  Crystal  Display) ใช้หลักการเรืองแสงของผลึกเหลวที่บรรจุในจอภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยประจุไฟฟ้า  จอภาพแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีปืนอิเล็กตรอนดังนั้นจึงมีโครงสร้างที่แบนราบ  กินไฟน้อย  มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา  เหมาะสำหรับการพกพาแต่มีราคาแพง  จอภาพชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิด  คือ ชนิด  Passive  Matrix  มีราคาต่ำกว่าแต่มีความคมชัดน้อย  เมื่อมองจากบางมุมอาจมองไม่เห็นภาพบนจอภาพ  ส่วนอีกชนิดหนึ่ง  คือ  Active Matrix  มีราคาสูงกว่า  แต่มีความคมชัดและแก้ปัญหาการมองไม่เห็นภาพบางมุมได้ดีขึ้น 1.  เครื่องพิมพ์ ปัจจุบันเครื่องพิมพ์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูก  และคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้รับก็เป็นที่น่าพอใจ  เครื่องพิมพ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ  เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท (Ink  jet) ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก  ส่วนเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์  ถ้าเป็นสีขาวดำจะมีราคาถูก  แต่ไม่เหมาะสำหรับนำมาพิมพ์ภาพกราฟิก  จึงได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีขึ้นมาใช้งานแต่มีราคาแพง  อีกทั้งคุณภาพของงานที่ได้รับก็ใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท  ในขณะที่ราคาแตกต่างกันมาก  จึงไม่เป็นที่นิยม ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อจะมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป  ทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ทำได้ง่าย  ด้วยการสังเกตจากผลลัพธ์ที่เครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นพิมพ์ออกมาเปรียบเทียบกันอย่างไรก็ตาม  ความคมชัดและคุณภาพของงานพิมพ์ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่องพิมพ์เพียงอย่างเดียว คุณภาพกระดาษที่ใช้พิมพ์ก็มีส่วนช่วยได้อย่างมาก  กระดาษที่สามารถรองรับการพิมพ์และให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสำหรับเครื่องพิมพ์แบบอิงเจ็ท  คือ  กระดาษ Glossy  ชนิดอาบมัน  ราคาของกระดาษชนิดนี้ค่อนข้างสูง  ดังนั้น  ก่อนจะสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์ควรตรวจสอบให้รอบคอบ  เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดและสูญเสียกระดาษไปอย่างน่าเสียดาย
ตลับหมึกที่ใช้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทจะมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับตลับหมึกของเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ  หลายเท่า  ผู้ผลิตบางยี่ห้อจะแยกตลับหมึกออกเป็น 2  ตลับ คือ  ตลับหมึกดำและตลับหมึกสี  ภายในตลับหมึกสีจะประกอบไปด้วยมาตรฐานของการพิมพ์ (CMYK) คือ สีฟ้า (Cyan) สีม่วง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) สีทั้งหมดจะผสมกันแสดงเป็นผลลัพธ์ที่ได้สีครบถ้วน เครื่องพิมพ์บางรุ่นเพิ่มสีฟ้าอ่อน (Light  Cyan) และสีม่วงอ่อน (Light Magenta) เข้าไปอีก 2 สี  เพื่อให้ภาพไล่เฉดสีได้เนียนขึ้นและภาพมีคุณภาพสูงขึ้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ระบบถ่ายทอดสีด้วยการแพร่ความร้อน (Dye-Sublimation) ขึ้นมาทดแทนเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกซึ่งจะทำให้คุณภาพการพิมพ์สูงขึ้นมาก  แต่ต้นทุนก็สูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น